วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

ระบบ AS/RS
https://www.youtube.com/watch?v=GjI9krx0oqc


เอสซีจี มีการจัดการตั้งศูนย์กระจายสินค้าส่วนกลาง (Central Distribution Center: CDC)ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็น Consolidate Platform หรือศูนย์ที่ทำหน้าที่รวมสินค้าหลายชนิดส่งพร้อมกัน โดยจะมีการนำการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติด้วย ASRS มาใช้ในการรับและจัดเก็บสินค้าเข้าคลังสินค้าอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการทำงานและจำนวนพนักงานลงได้
ระบบ ASRS เป็นการทำงานในการวางและตักสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอันตราย หรือกำจัดกิจกรรมที่อาจจะเป็นอันตรายออกจากการปฏิบัติงาน เช่น อุบัติเหตุจากฟอร์คลิฟท์ อุบัติเหตุจากการตกจากที่สูง และอุบัติเหตุจากการร่วงหล่นของสินค้า ซึ่งถือว่าเป็นการควบคุมอุบัติเหตุที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ตามหลักการควบคุมอุบัติเหตุ 
ระบบ ASRS จะมีการทำงานควบคู่อัตโนมัติอย่างเป็นระบบอยู่ 2 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์  ใช้เทคโนโลยีโรบอทอัตโนมัติ กับซอร์ฟแวร์ที่ สามารถพัฒนา นำไปใช้ได้กับทุกพื้นที่ สำหรับระบบ ASRS ที่ CDC วังน้อยเป็นระบบจัดเก็บและหยิบสินค้าอัตโนมัติ บนชั้นวางสินค้าสูง 13 ชั้น กว่า 4000 โลเคชั่น สามารถจัดเก็บและหยิบสินค้าได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วสูง เพิ่มความปลอดภัยให้กับสินค้า

สายพานลำเลียง
https://www.youtube.com/watch?v=Sut5bhpCJ9A



ระบบสายพานลำเลียง
  Daifuku สามารถออกแบบการจัดเรียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับตำแหน่งของการจัดส่งและการผลิต ซึ่งจำนวนและปริมาณจะมีขนาดเล็กลงเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลายและซับซ้อน ผลิตภัณธ์ของเราไม่ได้พัฒนาเพียงแค่ประสิทธิภาพอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีบริการจัดส่งที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพว่าสินค้าจะไม่ได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ เรายังมีระบบขนส่งที่ตรงตามความต้องการให้อุปกรณ์กึ่งตัวนำมีขนาดเล็กลงและความต้องการแผ่นกระจกที่ใสบริสุทธิ์ ระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานผลิตรถยนต์ในทุก ๆ กระบวนการและระบบสายพานสำหรับการขนถ่ายกระเป๋าสัมภาระที่สนามบิน Daifuku มุ่นมั่นที่จะปรับปรุงโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้นโดยการลดระยะเวลาและต้นทุน

 รถAGV
https://www.youtube.com/watch?v=iF62tH_jR78


เทคโนโลยีต่างๆ เริ่มมีการพัฒนาและมีความทันสมัยมากขึ้น ระบบอัตโนมัติและเครื่องมือต่างๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุปกรณ์เหล่านี้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่ปฏิบัติการอย่างคลังสินค้า โดยถือได้ว่าประสิทธิภาพและประโยชน์จากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่พลิกบทบาทการออกแบบคลังสินค้าและการทำงานภายในคลังสินค้าอย่างแท้จริง
เพื่อเป็นการเรียนรู้ถึงความสามารถและวิธีการปรับใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในคลังสินค้ามากขึ้น เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ Swisslog Logistics Automation ผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านหุ่นยนต์และโซลูชั่นอินทราโลจิสติกส์ด้านการใช้ข้อมูล โดยทางบริษัทฯ ช่วยอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีอัตโนมัติต่างๆ ในอุตสาหกรรม แนวความคิดต่อเทคโนโลยีอัตโนมัติในตลาดที่เปลี่ยนไป และแนวโน้มที่ทางบริษัทฯ เล็งเห็นในอนาคต
The Capabilities of Automationคลังสินค้าเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมการยกขนสินค้าที่มีความซับซ้อน ในแต่ละวันมีสินค้าหลากหลายชิ้นที่ถูกขนส่งเข้ามาในคลังสินค้าและศูนย์กลางโลจิสติกส์ โดยสินค้าที่เข้าและออกจากศูนย์ปฏิบัติการแต่ละชิ้นถูกติดตามและรายงานว่าอยู่ตำแหน่งไหนในคลังสินค้า มีสถานะอย่างไร และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง อย่างไรก็ตาม ไม่มีการปฏิบัติการไหนที่จะไร้ข้อบกพร่องโดยสิ้นเชิง จากความซับซ้อนของกิจกรรมที่เกิดในคลังสินค้าย่อมมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในส่วนนี้ หลายบริษัทจึงตัดสินใจนำระบบจัดการสินค้าอัตโนมัติเข้ามาช่วยเหลือการปฏิบัติการ
Swisslog อธิบายว่า “Automated Guided Vehicle (AGV) เป็นโซลูชั่นอัตโนมัติในการบริหารจัดการสินค้า โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ปฏิบัติการคอยควบคุม เมื่อเทียบกับการทำงานด้วยแรงงานคนปกติแล้ว ระบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้แม่นยำ สม่ำเสมอ ทำงานได้ยาวนานกว่า และไม่มีความผิดพลาดจากความเหนื่อยล้าหรือความสะเพร่าในการทำงาน”
“สำหรับการทำงานของ AGV เทคโนโลยีนี้มีการออกแบบระบบการทำงานอัตโนมัติ โดยบริหารจัดการและขนย้ายสินค้า ซึ่งประเมินจากแนวทางการทำงานที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม ลูกค้าสามารถติดตั้งและปรับใช้ AGV ได้หลากหลายรูปแบบให้เหมาะกับกิจกรรมในคลังสินค้าและรูปแบบการทำงานของตน ยกตัวอย่าง ถ้าลูกค้าต้องการเพิ่มปริมาณสินค้าที่ขนถ่ายในศูนย์ปฏิบัติการก็สามารถเพิ่มจำนวน AGV เพื่อรองรับสินค้าที่มากขึ้นได้ รวมทั้ง ระบบการทำงานของ AGV มีความยืดหยุ่นมากเนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายเมื่อเทียบกับระบบสายพาน (conveyor) หากมี AGV ที่ต้องซ่อมบำรุงก็สามารถนำ AGV อีกตัวเข้ามาปฏิบัติงานแทนได้ ซึ่งช่วยรักษาความสามารถในการทำงานสูงสุดต่อวันให้ลูกค้า”
นอกจากนี้ เทคโนโลยีประเภทนี้ยังมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ Swisslog อธิบายว่า “ตอนนี้ซัพพลายเชนมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เราจึงออกแบบเทคโนโลยีประเภทต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยปัจจุบัน เราให้บริการรถ AGV ในตลาดหลากหลายประเภทและมีการออกแบบรถยกขนสินค้าเฉพาะสำหรับลูกค้าบางรายที่มีความต้องการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม รถ AGV ทุกประเภทมีหน้าที่เหมือนกันคือ การขนย้ายสินค้า การยกขนสินค้าวางซ้อน และบางประเภทก็สามารถจัดเก็บสินค้าได้ด้วย”
“ถึงแม้รถ AGV มีหลากหลายประเภท แต่โดยหลักแล้ว เราสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลักๆ คือ AGV มาตรฐานทั่วไปอย่าง fork AGV และ conveyor AGV ประเภทที่สองคือ รถ AGV แบบเคลื่อนที่ได้ โดยรถ AGV ทั่วไปมีหน้าที่ในการขนส่ง สินค้าและใช้ในการจัดการระบบอินทราโลจิสติกส์ทั่วไป ซึ่งมีให้เลือกตามความต้องการของอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน รถที่ขนส่งมีทั้งที่เป็นพาหนะอย่างรถฟอร์คลิฟต์และ conveyor deck และประเภทที่สองคือรถ AGV เคลื่อนที่ได้ ตัวอย่างเช่น ที่ Swisslog เรามีรถ CarryPick ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเคลื่อนที่ได้ ใช้สำหรับจัดเก็บและหยิบสินค้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บสินค้าที่ทันสมัยและมีระบบจัดเก็บสินค้าสำหรับโลจิสติกส์แบบ multi-channel รถยกขนสินค้าเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดย Swisslog และ KUKA ซึ่งมีการนำทางโดยใช้ระบบ grid เพื่อให้รถสามารถเคลื่อนที่ไปยังสถานที่ปฏิบัติงานเพื่อยกขนสินค้าและลดระยะการเดินของพนักงาน โดยรถแต่ละคันสามารถเข้ามาทำงานและปฏิบัติหน้าที่แทนกันและกันได้ โดยที่ระบบยังคงสามารถทำงานต่อได้แม้จะมีการลดจำนวนรถลง นอกจากนี้ พนักงานยังสามารถเข้าไปหยิบสินค้าเองได้หากจำเป็น เราออกแบบระบบที่สามารถตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของสินค้าประเภทต่างๆ ได้โดย mobile racks แบบมาตรฐานสามารถปรับขนาดและลักษณะการทำงานได้ตามรูปร่างของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อุตสาหกรรมแฟชั่นที่ต้องมีการใช้ไม้แขวนเสื้อ ยิ่งกว่านั้น ระบบยังสามารถปรับเปลี่ยนได้หากมีการเปลี่ยนสถานที่ปฏิบัติงาน ซึ่งเราสามารถติดตั้งระบบดังกล่าวในอาคารหรือตึกมีหลังคาต่ำได้ ลูกค้าสามารถเริ่มจากการใช้รถ AGV เพียงไม่กี่คันและเพิ่มจำนวนภายหลังตามความสามารถในการทำงานและปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น”
Customized Technologyทั้งนี้ เทคโนโลยีประเภทนี้สามารถปรับใช้งานกับสินค้าหลากหลายประเภทที่นำขึ้นวางบนแพเล็ต ตะกร้า bin หรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ โดย AGV สามารถใช้งานร่วมกับการยกขนสินค้าเกือบทุกประเภท โดยสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและน่าเชื่อถือ ด้วยเทคโนโลยีระบบนำทางที่ทันสมัยและมีความสามารถในการยกขนสินค้าที่ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมได้ AGV จึงเหมาะกับระบบโลจิสติกส์ที่ทั้งซับซ้อนและระบบการทำงานที่มีความเรียบง่าย
Swisslog กล่าวเสริมว่า “AGV ของเราสามารถทำงานได้อิสระแบบ stand-alone หรือสามารถทำงานร่วมกับระบบ ERP ได้ สถานที่ปฏิบัติงานก็มีความปลอดภัยและปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังลดโอกาสในการหยิบสินค้าผิดเนื่องจากมีระบบหยิบสินค้าตามสัญญาณไฟ (pick by light) และระบบ pick pointer โดยผู้ใช้งานสามารถปฏิบัติงานได้สะดวกและราบรื่นมากขึ้น นอกจาก AGV ทั่วไปแล้ว เรายังให้บริการเครื่องมือยกขนสินค้าที่ปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้า เรามีตัวเลือกทางเทคโนโลยีที่หลากหลาย ดังนั้นต้องเริ่มจากการศึกษาตามความต้องการของลูกค้าแต่ละรายก่อน ลูกค้าบางรายอาจไม่จำเป็นต้องปรับแต่งรถก็ได้เพราะสามารถเลือกใช้งานจากประเภทรถต่างๆ ที่เราให้บริการอยู่แล้ว”
“บางกรณี เราก็มีลูกค้าที่ต้องการโซลูชั่นอัตโนมัติเช่นกัน หนึ่งในลูกค้าของเราคือ บริษัท AMAG Automobile ที่สวิสเซอร์แลนด์ โดยเป็นบริษัทผู้นำเข้ารถประเภทต่างๆ ทั้ง VW, Škoda, Audi, SEAT และรถเพื่อการพาณิชย์ของ VW โดย AMAG Automobile มีการวางแผนเปลี่ยนการขนย้ายสินค้าทั้งหมดให้เป็นระบบอัตโนมัติในโซนและระดับชั้นที่กำหนด ซึ่งจากความต้องการดังกล่าว Swisslog ได้ออกแบบคอนเซปต์การทำงานของ AGV ทั้งหมด 20 คัน รวมทั้งซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน ระบบนำทางด้วยเลเซอร์และระบบการสื่อสารผ่าน Wi-Fi ในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้รถสามารถทำงานได้ตามที่วางแผนไว้และปฏิบัติการอย่างปลอดภัย ซึ่งประเมินจากจำนวนของรถยกขนสินค้าถือได้ว่าเป็นโครงการติดตั้งรถ AGV ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสวิสเซอร์แลนด์และใหญ่ที่สุดของ Swisslog ในปัจจุบัน และทุกวันนี้ ระบบดังกล่าวก็ยังทำงานได้ตรงตามตารางที่กำหนดและสามารถติดตามสถานะของระบบได้อย่างไร้รอยต่อ ความผิดพลาดและความเสียหายของสินค้าลดลง และระยะทางการขนส่งสินค้าภายในคลังสินค้ายังได้รับการปรับให้เหมาะสมขึ้น เนื่องจาก AGV สามารถลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้าให้เร็วขึ้นถึง 30 เปอร์เซ็นต์”
นอกจากการติดตั้งเทคโนโลยีที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นที่ต้องคำนึงถึงอีก Swisslog อธิบายเพิ่มเติมว่า “ลูกค้าควรเข้าใจรูปแบบการทำงานและกิจกรรมภายในอาคาร อาทิ จำนวนกะการทำงาน ความแม่นยำในการทำงาน และพื้นที่ในการปฏิบัติงาน รวมทั้งลูกค้าควรคำนึงถึงความปลอดภัยอีกด้วย การจะปรับใช้ AGV อาคารดังกล่าวต้องมีพื้นที่แข็งแรงมั่นคง พื้นผิวมีความราบเรียบ และมีอัตราการรับน้ำหนักของพื้นอย่างเหมาะสม ยิ่ง AGV ต้องยกขนสินค้าสูงเท่าไรก็ยิ่งต้องมีการติดตั้งจำนวนตัวเซ็นเซอร์มากขึ้นเท่านั้น เพื่อความแม่นยำในการทำงาน รวมทั้งต้องมีการลดความเร็วลง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานอีกด้วย”
นอกจากรถ AGV แล้วก็มีเทคโนโลยีอัตโนมัติอื่นๆ ที่ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในแง่การขนส่งสินค้า การจัดเก็บ และการหยิบสินค้า Swisslog กล่าวว่า “หุ่นยนต์จัดการยกขนสินค้า (robot handling) ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ Swisslog มี ซึ่งเราไม่ได้ให้บริการเพียงการนำสินค้ารวบรวมบนแพเล็ตและยกสินค้าออกจากแพเล็ต แต่มีความสามารถมากกว่านั้น เรากำลังออกแบบอนาคตของอินทราโลจิสติกส์ด้วยโซลูชั่นอัตโนมัติผ่านนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เพื่อมอบคุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้า Swisslog ให้การสนับสนุนบริษัทที่มีความคิดก้าวหน้าให้สามารถปฏิบัติงานในคลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ระบบอัตโนมัติและซอฟต์แวร์ในการจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติและระบบการดึงข้อมูลอย่างเครนซ้อนแพเล็ต เครนยกขนสินค้าน้ำหนักไม่มาก ชั้นจัดเก็บสินค้าสำหรับสินค้าขนาดเล็กและระบบประมวลผลขั้นตอนการดำเนินงาน ระบบสับเปลี่ยน สินค้าขนาดเล็ก และระบบจัดการแพเล็ต นอกจากนี้ Swisslog ยังให้บริการระบบการจัดการคลังสินค้า ซึ่งมีโซลูชั่นครบวงจรให้บริการได้ตั้งแต่ต้นจนจบ”
ในส่วนของการเลือกผู้ให้บริการที่เหมาะสม Swisslog ได้ให้คำแนะนำกับเราว่า “ลูกค้าควรเลือกผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงด้านการให้บริการที่ดี เนื่องจากความสามารถในการบริหารจัดการ การขนถ่าย และการควบคุมแบตเตอรี การให้บริการลูกค้า และการมีอะไหล่ที่ได้มาตรฐาน ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความสามารถและคุณภาพ การทำงานของ AGV ผู้ให้บริการที่ดีที่พร้อมช่วยเหลือและใส่ใจในการซ่อมบำรุงจะทำให้ลูกค้ารู้สึกไว้วางใจ และเมื่อมีข้อติดขัดก็สามารถให้การช่วยเหลือได้ สำหรับ Swisslog เรามีประสบการณ์ด้าน AGV มาเป็นเวลา 45 ปี และจากประสบการณ์ในส่วนนั้น ทำให้เราสามารถออกแบบระบบจากความรู้และประสบการณ์ของเราจนประสบความสำเร็จกับโครงการนับไม่ถ้วน เราได้ผสานความรู้ด้านโครงการ R&D ระหว่าง KUKA และ Swisslog เพื่อผลิตรถ AGV เคลื่อนที่ได้ในระดับ first-class องค์กรของเรามีเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมทั่วโลก ทำให้ลูกค้าสามารถวางใจได้ว่า เมื่อต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการสอบถามบริการเพิ่มเติม ทีมงานของเราก็พร้อมให้บริการได้อย่างรวดเร็วและวางใจได้ ทีมปฏิบัติการของเรามีความน่าเชื่อถือและมีความพร้อมตลอดเวลา รวมทั้งสามารถติดตามสถานะของสินค้า นอกจากนี้ยังลดอัตราความเสียหายระหว่างการขนส่งและส่งมอบ โดยไม่ต้องมีพนักงานคอยควบคุม ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่าย”
ทั้งนี้ AGV เป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดถึงในอุตสาหกรรมมาเป็นเวลานาน เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนก็เริ่มเห็นความสามารถและประโยชน์ของเทคโนโลยีในส่วนนี้ และเริ่มมีความคิดเป็นไปในทิศทางบวกเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตของเทคโนโลยีนี้ Swisslog กล่าวว่า “ผู้ให้บริการเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยียกขนสินค้าที่มีความยืดหยุ่นและระบบอัตโนมัติอย่าง AGV มากขึ้น ตลาดเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีประเภทนี้ก็มีส่วนช่วยให้ผู้ปฏิบัติการทำงานได้สำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้”

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2562

หุ่นยนต์โสเพณี

ความหมาย ประวัติ และวิวัฒนาการของหุ่นยนต์
หุ่นยนต์ (robot) คือ เครื่องจักรกลหรือหุ่นที่มีเครื่องกลไกอยู่ภายใน สามารถทำงานได้หลายอย่างร่วมกับมนุษย์ หรือทำงานแทนมนุษย์ และสามารถจัดลำดับแผนการทำงานก่อนหรือหลังได้
ระดับขั้นการทำงานของหุ่นยนต์สามารถจำแนกได้ ๖ ระดับ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของสมาคมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม แห่งญี่ปุ่น (Japanese Industrial Robot Association: JIRA) ดังนี้
ระดับที่ ๑ กลไกที่ถูกควบคุมด้วยมนุษย์ (manual-handling device)
ระดับที่ ๒ หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้  โดยไม่สามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (fixed-sequence robot)
ระดับที่ ๓ หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้  โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (variable-sequence robot)
ระดับที่ ๔ ผู้ควบคุมเป็นผู้สอนงานให้แก่หุ่นยนต์  หุ่นยนต์จะทำงานเล่นย้อนกลับ ตามที่หน่วยความจำบันทึกไว้ (playback robot)
ระดับที่ ๕ ผู้ควบคุมบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขการเคลื่อนที่ให้แก่หุ่นยนต์ และหุ่นยนต์สามารถทำงานได้เอง โดยไม่ต้องมีการสอนงาน (numerical control robot)
ระดับที่  ๖ หุ่นยนต์มีความฉลาด สามารถเรียนรู้สภาพแวดล้อม และตัดสินใจทำงานได้ด้วยตัวเอง (intelligent robot)
สำหรับสถาบันหุ่นยนต์แห่งสหรัฐอเมริกา (The Robotics Institute of America: RIA) จะพิจารณาเพียงระดับที่ ๓-๖ เท่านั้น จึงถือว่า เป็นหุ่นยนต์
หุ่นยนต์สามารถจำแนกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการใช้งาน คือ
๑. หุ่นยนต์ชนิดติดตั้งอยู่กับที่ (fixed robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้มีลักษณะเป็นแขนกล ซึ่งสามารถขยับ และเคลื่อนไหวได้เฉพาะข้อต่อ นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
๒. หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ (mobile robot) หุ่นยนต์ประเภทนี้สามารถเคลื่อนที่ไปได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้ล้อ ขา หรือการขับเคลื่อนในรูปแบบอื่นๆ